0 ความคิดเห็น

Myself



Hello. My  name  is  Nisakorn  Sittipon. My  student  number  is  5411114014. I am nearly 21 years old. My birthday is on 24th October  1992. I am short and thin. I have long hair and dark eyes. My friends say I smile all the time. In my spare time, I like to play badminton with my friends or play video games. At the weekend I like to watch movies. When I am older, I want to be a teacher.
read more
0 ความคิดเห็น

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ภาษา และ การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

             ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารของทุกประเทศ ในประเทศไทยภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลักในการสอนภาษาต่างประเทศในโรงเรียนและสถาบันต่างๆ ภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนไทย จะมีการทดสอบความสามารถของผู้เรียนคือ การสอบ ทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ เช่น การสอบ ONET, GAT, TOEFL, TOEIC การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยเป็นกระบวนการที่ล้าช้า ดังนั้น นักการศึกษา ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้อง พัฒนาหลักสูตร และให้ความสำคัญกับการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย เพราะในปัจจุบัน ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีได้มีอิทธิผลต่อ การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบัน CDs, Video ต้องใช้ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี                  

          ในประเทศไทย, การประยุกษ์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสอนภาษาอังกฤษได้นำมาใช้ในห้องเรียนภาษาเพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ประสบผลสำเร็จ


          Tutorial Programs are responsible for collecting, presenting and guiding information, teaching rules, as well as teaching problem- solving techniques to students.
          Drill and Practices is to review the content background knowledge and to assist students to master their language skills such as reading, listening, etc.
          Demonstration teaching and learning through computer based instruction is very helpful with self- directed learning.
          Games are used to provide a rich learning and teaching environment.
          Testing is a tool for assessment and a method to determine what students know and do not know. 
read more
0 ความคิดเห็น

A Computer Assisted Language Learning



 ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
10.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง แก้ปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล

สรุป 


           คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบระหว่างผู้เรียน พร้อมทั้งส่งผลย้อนกลับได้ทันที มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 

read more
0 ความคิดเห็น

Computer Assisted Language Learning and English Language Teaching in Thailand

บทนำ : การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในประเทศไทย

        ผลการสอบทางด้านภาษาของพวกเขาหลังจากการทดสอบระดับชาติ  หรือโดยการสอบที่ได้มาตรฐานต่างๆ  อันได้แก่  TOEFL  และ  TOEIC  ยังคงอยู่ไกลจากระดับความพึงพอใจ  ผลงานจากเด็กที่เรียนภาษาที่ไม่น่าพึงพอใจนี้แสดงให้เห็นว่า  ทั้งๆที่มีความพยายาม  อุตสาหะ  จากทุกๆหน่วยงานได้มีความวิตกกังวลว่า  การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยนั้นประสบกับปัญหาความก้าวหน้าอย่างเชื่องช้า  ดังนั้น  ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหาร  และนักพัฒนา  ต้องให้ความสนใจโดยทันที  ภายใต้ความต้องการที่จะปรับปรุง  แก้ไข  ELT  ในประเทศไทย  พวกเขาจำเป็นที่จะต้องกระตือรือร้นในการวินิจฉัยถึงกลยุทธ์ในการสอนภาษาอังกฤษในหมู่นักเรียนชาวไทย  ภายใต้ความต้องการของผลวิชาภาษาอังกฤษที่มีอยู่ในระดับชาติ  เทคโนโลยีเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนรอบโลก  เทคโนโลยีนั้นเร็วกว่า  ง่ายกว่า  และสะดวกกว่าในการใช้สื่อรุ่นเก่าอื่นๆ   โดยเฉพาะ  บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนภาษานั้นเพิ่มขึ้นมาในระดับโลกแล้ว  สาเหตุเพราะผู้เรียนภาษาส่วนใหญ่จะใช้อินเทอร์เน็ต    ในการสื่อสารกับนักเรียนผู้อื่นในเวลาเดียวกัน  หรือผู้พูดในภาษาเป้าหมายที่อยู่รอบโลก  
           บทความนี้แสดงให้เห็นความคิดของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จัดให้เห็นภาพโดยรวมของ CALL ว่าเป็นอย่างไรในการสอนภาษา พร้อมทั้งเน้นข้อดีและข้อเสียของการประยุกต์ใช้ CALL ให้เรียนรู้ภาษาประสบผลสำเร็จ บทบาทในการสอนและเรียนรู้ภาษา

การพัฒนาของCALL

           - Behaviorist CAll    เป็นลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรุ่นแรกที่มีการใช้ในช่วง ปี 1960 - 1970  ซึ่งจะเน้นกระบวนการฝึกฝนและทบทวนซ้ำๆ  คำศัพท์  ไวยากรณ์  และการแปล ภายใต้การสร้างแรงกระตุ้นแก่นักเรียนโดยยึดทฤษฎีพฤติกรรมการเรียนรู้ 
           - Communicative CALL  
เป็นลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในช่วงปี 1970 - 1980 ที่เน้นกระบวนการพัฒนาศักยภาพการสนทนาในสถานการณ์จริง  โดยคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่เป็นผู้สอนพร้อมกับการสร้างแรงกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจผ่านกิจกรรมการสนทนา ที่จะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการสร้างคำ การสะกดคำ ไวยากรณ์ ในโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์
           - Integrate Call  
เป็นลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปี 1980 - 1990  ที่นำเทคโนโลยีมาบูรณการในการเรียนการสอนภาษาที่เน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน   โดยเปิดให้นักเรียนได้ศึกษาตามความสนใจผ่านอินเตอร์เน็ตเข้าถึงแหล่งความรู้ที่ทันสมัย และ รวดเร็ว

ข้อดีและข้อเสียของการใช้CALL

ข้อดีของCALL
     - ในการเรียนภาษาได้จัดเตรียมข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้กับนักเรียน
     - ครูสามารถใช้ CALL เพื่อจัดการเข้าถึงที่ง่ายและรวดเร็วต่อแหล่งข้อมูลในการเรียนภาษาที่หลากหลาย  
     - สร้างความสนใจ แรงจูงใจ และความมั่นใจของนักเรียน
     - เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้แสดงความสามารถที่สร้างสรรค์
     - ผู้เรียนสามารถเรียนอย่างกว้างขวางด้วยข้อมูลต่างๆ และส่งเสริมตามที่พวกเขาต้องการ เพื่อให้งานแต่ละคนเกิดความสมบูรณ์ และตอบสนองความต่อความหลากหลายของผู้เรียน 
ข้อเสียของCALL
     - ค่อนข้างมีราคาสูงของเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในห้องเรียนมีน้อย
     - ใช้เวลาในการลงโปรแกรมเป็นเวลานาน

การศึกษาCALLและELTในประเทศไทย

       โครงการบูรณาการ CALL การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยไม่สามารถพูดได้ว่าโปรแกรมที่คาดหวังในบริบทของการศึกษาระดับชาติ การศึกษาสามัญ โปรแกรม CALL ที่ใช้ในบริบทรวมถึงโปรแกรมการสอน การฝึกฝนและปฏิบัติ สาธิต การจำลอง เกมส์ การทดสอบ และโปรแกรมการสอนที่มีความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมแก่นักเรียน  จะนำเสนอข้อมูลในหน่วยเล็กๆ ที่มีประโยค กราฟิก และเสียง นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาผ่านทางคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบ พวกเขาได้รับการตอบรับทันที ถ้าคำตอบของพวกเขาไม่ถูกต้อง พวกเขาจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง บทเรียนชนิดนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นที่นิยมมากสำหรับนักเรียนและครู เพราะว่ามีแบบฝึกหัด 
      การฝึกทดสอบเป็นการทบทวนเนื้อหาความรู้เดิมของนักเรียนและยังช่วยให้นักเรียนสามารคงไว้ซึ่งทักษะทางภาษาไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การฟัง  เป็นต้น    การกระตุ้นพร้อมให้นักเรียนเกิดการตอบสนองอย่างกระตือรือร้น และการตอบโต้ของนักเรียนถือเป็นขั้นตอนสำคัญของโปรแกรมนี้    
     การสร้างสถานการณ์สมมุติหรือการแก้ปัญหาได้นำมาใช้เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดเชิงวิจารณ์ ทักษะการอภิปราย และทักษะการเขียน  โดยการใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงเพื่อที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง  นักเรียนจะรู้สึกท้าทายในการแก้ปัญหา ที่ประกอบไปด้วยการสันทนาการกับการเรียนรู้   เกมส์ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน ปรกติแล้ว เกมส์ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ความหมายของการเลียนแบบและเกมส์ก็คล้ายๆกัน การเลียนแบบก็คือการเลียนแบบจากสถานการณ์จริง  แต่เกมส์อาจจะไม่เป็นการเลียนแบบจากสถานการณ์จริง นักเรียนสามารถที่จะเรียนรู้กติกา  กระบวนการ รวมทั้งทักษะอื่นๆ

การเรียนโดยอาศัยโปรแกรมCALL      

       Maneekul (1996) ได้ยกตัวอย่างของความพยายามในการค้นหาผลของการมีสิ่งที่เพิ่มเติมในการสอนแบบปกติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพื่อทำให้การสอนได้ผลดีที่สุด รวมถึงทัศนคติในส่วนของคะแนนผลการสอบของนักเรียนไทยก็ดีไปด้วย  การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในการสอนแบบปกติ
       Tongtua (2008) พิจารณาเรื่องนี้ด้วยเช่นกับว่า การพัฒนาทักษะความสามารถในการอ่าน ในระเบียบการปรับปรุงการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนเพื่อความเข้าใจ,ทดสอบความสำเร็จและสอบถามทัศนคติและทดสอบนักเรียนมัธยมปลาย 20 คน ผลลัพธ์ที่ได้ แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่เรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีการบรรลุถึงผลสำเร็จเป็นอย่างมาก  และมากกว่าผู้ที่เรียนโดยใช้หนังสือเรียนเสริม และยังทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนภาษาอีกด้วย 
        Tongpoon (2001) ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมสื่อการสอน แกรมม่า เรื่อง phrasal verbsใช้กับนักศึกษาปี 1 เอกภาษาอังกฤษพบว่า นักเรียนมีความสามารถดีขึ้นระหว่างการใช้ CALL ในการเรียนภาษาอังกฤษ
         อินทัต (2003)  ประเมินผล CALL การใช้การสอบ pre – test และ post – test มาเปรียบเทียบกับผลคะแนน post – test สูงกว่า pre – test สรุปว่า CALL นักศึกษามีความสามารถมากขึ้น CALL สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลักสูตรการศึกษาของไทยได้
          Writing  skill  อินทัต (2009)ได้พัฒนาการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ CALL เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน กับนักศึกษา .ตรี ของไทย 100 คน ผลที่ได้คือ นักศึกษามีความสามารถเพิ่มขึ้น 
          Gubtapool (2002)  ได้สำรวจกลยุทธ์ของนักศึกษาไทยกับการใช้โปรแกรมการสร้างคำเพื่อช่วยพัฒนาการเขียนได้สำรวจทางการสัมภาษณ์ เอกสารการวิเคราะห์ ผล: โปรแกรมช่วยนักศึกษาพัฒนาการเขียนในหลายเรื่องเช่น capitalization, singular plural forms, subject verb agreement และ punctuation โปรแกรมช่วยตรวจสอบ spelling และ grammar



read more
0 ความคิดเห็น

The Difficulties and Challenges of Teachers' Integrating CAI into Teaching

The Brief of Computer Assisted Language Learning:ประวัติโดยย่อของCALL

           CALL  สามารถแบ่งได้เป็น  3  ประเภท  ได้แก่  behaviorist CALL,  communicative CALL,  and  integrative CALL
           -Behaviorist CALL  เริ่มใช้สอนตั้งแต่1960และ1970  เป็นการเรียนการสอนแบบฝึกทำซ้ำๆเพื่อเป็นการกระตุ้นในการรับข้อมูล  ซึ่งตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นติวเตอร์  มีการพัฒนาเป็นระบบPLATO  เป็นโปรแกรมการสอนในคอม  PLATOทำงานด้วยฮาร์ดแวร์พิเศษซึ่งประกอบด้วยคำศัพท์  อธิบายหลักไวยกรณ์โดยย่อและแปลภาษา
           -Communicative CALL  จะเน้นวิธีการสอนการสื่อสารเป็นสำคัญ  เริ่มต้นตั้งแต่ปี1970และช่วงต้น1980  communicative CALLช่วงแรกๆจะทำหน้าที่เป็นติวเตอร์  เพื่อให้นักเรียนมีตัวเลือก  ควบคุมและผสมผสานเข้าด้วยกัน  นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นเเละเป็นเครื่องมืออีกด้วย  ช่วงต่อมาจะทำหน้าที่ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในกระบวนการสร้างคำ  สะกดคำ  หลักไวยกรณ์   ซึ่งจะติดตั้งโปรแกรมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
         -Integrative CALL  เป็นที่รู้จักในช่วง1980และช่วงต้น1990  เริ่มบูรณาการทักษะต่างๆไม่ว่าจะเป็นการฟัง  การพูด  การเขียน  และการอ่าน  เทคโนโลยีมีบทบาทในกระบวนการเรียนมายิ่งขึ้น  นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมต่างๆและสามารถสืบหาข้อมูลได้อย่างกว้างโดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร

The Significance and Trends of Instructional Technology:ความสำคัญและเทรนด์ในการเรียนการสอน
         CALL  หาสื่อที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและครูผู้สอนจะต้องประเมินด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
         1.คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วๆไปในโรงเรียน  เพราะฉะนั้นนักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้
         2.การเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆที่อยู่ทั่วโลก
         3.เทคโนโลยีทางการศึกษาเพิ่มขึ้นทั้งที่บ้านและชุมชน
         4.ความต้องการใหม่  คือ  ครูต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ได้
         5.เครือข่ายเป็นวิธีการที่รวดเร็วในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
         6.เทคโนโลยีการศึกษามีความเกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเมือง
         7.ระบบการเผยแพร่ข้อมูลในวงการการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
      8.เทคโนโลยีถือว่าเป็นตัวที่ใช้ในการขับเคลื่อนในการปฏิรูปทางการศึกษา

The Principles and Factors are Applied in Technology:หลักการและปัจจัยที่ประยุกต์ใช้

การกระตุ้น  1.ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
                       2.กระตุ้นให้มีการรับรู้ของผู้เรียน
                       3.กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
หน้าที่หลักของการสอน  1.ช่วยให้ผู้เรียนพบปัญหาและช่วยแก้ปัญหา
                                                2.ติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน
                                                3.ช่วยผู้เรียนเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลต่างๆ
ส่งเสริมกลยุทธ์ต่างๆ  1.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
                                          2.กระจายความเก่งแต่ละคน
                                          3.ให้ผู้เรียนรู้จักเเก้ปัญหา
การเพิ่มพูน  1.ส่งเสริมเพิ่มพูนชิ้นงานของครู
                        2.ประหยัดเวลาในการออกแบบต่างๆฃ

The Study:การเรียนการศึกษา
         ให้ผู้เรียนทำโครงงานเพื่อพัฒนาการสื่อสาร  โดยทำโครงงานเป็นสื่อการเรียนการสอน  และสามารถนำคอมมาใช้ทั้งฟังและพูดในรูปแบบภาพยนตร์  วีดิโอ  ซีดีรอม  และครูจะสร้างe-learningเพื่อที่จะให้นักเรียนโพสต์และดูงานหรือแก้ไขงานของคนอื่นๆได้
          1.ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม4-5คน
          2.ครูให้หัวข้อ  เพื่อที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนครูก็เปิดCD-ROM
          3.ครูหาข้อมูล,วิธีการต่างๆให้ผู้เรียนได้ค้นหาข้อมูล
    4.สมาชิกในกลุ่มมีความรับผิดชอบ  และมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน  เพื่อบูรณาการในการแก้ปัญหา
          5.ถ่ายวีดิโอเพิ่มเพลงหรือเพิ่มสิ่งอื่นๆ
          6.รวบรวมขอมูลต่างๆที่สัมภาษณ์
          7.สมาชิกแต่ละกลุ่มโพสต์งานของตัวเอง
          8.นำเสนอโดยการใช้วีดิโอหรือPowerpoint
          9.ครูและนักเรียนตรวจสอบข้อมูลต่างๆ

Difficult of Applying Computer Assisted Instruction to Teaching : ความยุ่งยากในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์

                        1. วัสดุอุปกรณ์ในโรงเรียนไม่คงที่  ยากต่อการใช้งาน
                2. การให้ความสำคัญของผู้บริหาร  โรงเรียนขาดทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์
                3. ความเชื่อและสไตล์การเรียนการสอนของครู  ทัศนคติของครูมีความสำคัญ  ครูต้องมีความพยายามในการบูรณาการนำคอมพิวเตอร์มาสอน  และต้องมีการออกแบบเทคนิคการสอนแบบใหม่ๆและมีการประเมิน
                5. ออกแบบหลักสูตรและปรับปรุงสื่อการสอนให้เหมาะกับผู้เรียน
                6. ผู้เรียนไม่มีความสามารถในการจัดการอะไรเลย  ครูผู้สอนต้องส่งเสริม

The Solution to The Problems of Applying Computer Assisted Instruction to Teaching : การแก้ปัญหา

                1. สนับสนุนและส่งเสริม
                2. เพิ่มทัศนคติความเชื่อของครู  ครูต้องมีความกระตือรือร้น  กล้าเผชิญหน้ากับความยากลำบากในการเรียนการสอน  
                3. เมื่อไหร่ก็ตามที่ใช้เทคโนโลยีในการสอน  ครูต้องทำความคุ้นเคยรวมกลุ่มกันเพื่อออกแบบหลักสูตร
                4. ลดภาระงานของครู  จัดการนักเรียนโดยการสอนหัวหน้ากลุ่มและให้ไปสอนครูกับเพื่อนๆในห้องเรียน  และมีการติดต่อกันในคอมพิวเตอร์ด้วย
                5. ต้องประเมินตนเองและผู้อื่น  เพื่อสะท้อนความคิด


ความเห็นของผู้เขียน
                ปัจจุบันนนี้การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีบทบาทสำคัญมากในการเรียนการสอน  ในฐานะที่พวกเราเป็นเยาวชนรุ่นใหม่และเป็นว่าที่คุณครูในอนาคตก็ควรที่จะมีความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน  และต้องรู้จักบูรณาการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้








       
read more

ELT Demo Lesson:Vocabulary and Reading-Pre-Intermediate

Learn English Listening Skills